วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2559

อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง




ท้าวกะหมังกุหนิงส่งทูตไปสู่ขอบุษบา แต่ได้รับการปฏิเสธจากท้าวดาหาจึงเตรียมจัดยกทัพไปตีเมืองดาหาโดยให้พระอนุชา ยกทัพมาช่วย ท้าวกะหมังกุหนิงให้วิหยาสะกำเป็นทัพหน้า พระอนุชาทั้งสองเป็นทัพหลัง

ฝ่ายท้าวดาหาได้ขอความช่วยเหลือไปยังท้าวกุเรปัน และท้าวกาหลัง และท้าวสิงหาส่าหรี ท้าวกุเรปันส่งราชสารฉบับหนึ่งส่งให้อิเหนายกทัพมาช่วยท้าดาหาทำศึก อีกฉบับส่งไปให้ระตูหมันหยาโดยตำหนินางจินตหราว่าเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดศึกครั้งนี้ ระตูหมันหยารู้สึกผิดจึงเร่งให้อิเหนายกทัพไปเมืองดาหา ส่วนท้าวกาหลังให้ตำมะหงงกับดะหมังคุมทัพมาช่วย ท้าวสิงหัดส่าหรีส่งสุหรานากงผู้เป็นโอรสมาช่วยรบ

เมื่อทะที่ช่วยเมืองดาหารบมาครบกันแล้ว อิเหนามีบัญชาให้จักทัพรบกับท้าวกะหมังกุหนิง



ครั้นทั้งสองฝ่ายเผชิญหน้ากัน สังคามาระตาเป็นคู่ต่อสู้กับวิหยาสะกำและสังหารวิหยาสะกำได้ ท้ากะหมังกุหนิงเห็นโอรสถูกสังหารตกจากม้าก็โกรธ ขับม้าไล่ล่าสังคามาระตา อิเหนาจึงเข้าสกัดและต่อสู้ ทั้งสองฝ่ายฝีมือเท่าเทียมกัน จนในที่สุดอิเหนาจึงใช้กริชสังหารท้าวกะหมังกุหนิงได้ ทัพฝ่ายท้าวกะหมังกุหนิงจึงเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ไป

จัดทำโดย
นายสุทธิพงศ์ ศักดิ์สิทธิ์ เลขที่ 29 (รับบทเป็น อิเหนา)
น.ส.ขวัญชนก เพ็งอุดม เลขที่ 16 (รับบทเป็น บุษบา)
น.ส.ณัฐชา สุวรรณ เลขที่ 3 (รับบทเป็น จินตะหรา)
น.ส.ธรชญา จูประเสริฐ เลขที่ 4 (รับบทเป็น จรกา)
น.ส.เฌอปราง พุทธชาติ เลขที่ 2 (รับบทเป็น ท้าวกะหมังกุหนิง)
นายอนุชา ศรีเสวตร์ เลขที่ 12 (รับบทเป็น วิหยาสะกำ)
น.ส.สุชาวดี บุญมา เลขที่ 1 (รับบทเป็น ท้าวกุเรปัน)
น.ส.ภคพร จันทร์แป้น เลขที่ 11 (รับบทเป็น ท้าวดาหา)
น.ส.สุจิรา เหล่าวนิชวิศิษฏ์ เลขที่ 6 (รับบทเป็น ประไหมสุหรี)
น.ส.ชนิสรา คูรศิริกุล เลขที่ 43 (รับบทเป็น ช่างภาพ)
น.ส.นรมน แจ้งกระจ่าง เลขที่ 5 (ครีเอทีฟ,กำกับ,ตัดต่อ)
ส่ง
อ.มาลัย รอดประดิษฐ์
ปล.วีดิโออาจจะไม่ชัดนะคะ แต่พวกเราตั้งใจทำน้าา ^^



วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2559

บทที่3 นิทานเวตาลเรื่องที่10

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3

เรื่อง นิทานเวตาล (เรื่องที่ 10)

ความเป็นมา
                นิทานเวตาล ฉบับนิพนธ์ พระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ มีที่มาจากวรรณกรรมสันสกฤตของอินเดีย  โดยมีชื่อเดิมว่า “เวตาลปัญจวิงศติ” ศิวทาสได้แต่งไว้ในสมัยโบราณ
                  ต่อมาได้มีผู้นำนิทานเวตาลทั้งฉบับภาษาสันสกฤตและภาษาฮินดีมาแปลเป็นภาษาอังกฤษ โดยร้อยเอก เซอร์ ริชาร์ด เอฟ. เบอร์ตัน  ก็ได้นำมาแปลและเรียบเรียงแต่งแปลงเป็นสำนวนภาษาของตนเองให้คนอังกฤษอ่าน แต่ไม่ครบทั้ง 25 เรื่อง กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ได้ทรงแปลนิทานเวตาลจากฉบับของเบอร์ตัน จำนวน 9 เรื่อง และจากฉบับแปลสำนวนของ ซี. เอช. ทอว์นีย์   อีก 1 เรื่อง รวมเป็นฉบับภาษาไทยของกรมหมื่นพิทยาลงกรณ 10 เรื่อง เมื่อ พ.ศ. 2461
                   นิทานเวตาลเป็นนิทานที่มีลักษณะเป็นนิทานซับซ้อนนิทาน คือ มีนิทานเรื่องย่อยซ้อนอยู่ในนิทานเรื่องใหญ่

ประวัติผู้แต่ง
            พระราชวงศ์เธอ    กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ทรงชำนาญด้านภาษาและวรรณคดีเป็นพิเศษ ได้ทรงนิพนธ์หนังสือไว้มากมายโดยใช้นามแฝงว่า “น.ม.ส.” ซึ่งทรงเลือกจากตัวอักษรตัวหลังพยางค์ของพระนาม (พระองค์เจ้า)รัชนีแจ่มจรัส

ลักษณะคำประพันธ์
           นิทานเวตาล แต่งเป็นร้อยแก้ว    โดยนำทำนองเขียนร้อยแก้วของฝรั่งมาปรับเข้ากับสำนวนไทยได้อย่างกลมกลืน และไม่ทำให้เสียอรรถรส แต่กลับทำให้ภาษาไทยมีชีวิตชีวา จึงได้รับยกย่องเป็นสำนวนร้อยแก้วที่ใหม่ที่สุดในยุคนั้น เรียกว่า “สำนวน น.ม.ส.

เรื่องย่อ
                    ในโบราณกาล มีเมืองที่ใหญ่เมืองหนึ่งชื่อ กรุงธรรมปุระ พระราชาทรงพระนามว่า ท้าวมหาพล มีพระมเหสีที่ทรงสิริโฉมงดงามแม้มีพระราชธิดาที่ทรงเจริญวัยแล้ว ต่อมาได้เกิดศึกสงครามทหารของท้าวเอาใจออกห่าง ทำให้ทรงพ่ายแพ้ พระองค์จึงทรงพาพระมเหสีและพระราชธิดาหลบหนีออกจากเมืองเพื่อไปเมืองเดิมของพระมเหสี ในระหว่างทางท้าวมหาพลได้ถูกโจรรุมทำร้ายเพื่อชิงทรัพย์และสิ่งของมีค่า จนพระองค์สิ้นพระชนม์ จนพระราชธิดาและพระมเหสีเสด็จหนีเข้าไปในป่าลึก
   ในเวลานั้นมีพระราชาทรงพระนามว่า ท้าวจันทรเสน กับพระราชบุตร ได้เสด็จมาประพาสป่าและพบรอยเท้าของสตรีซึ่งเมื่อพบสตรีทั้งสองจะให้รอยเท้าที่ใหญ่เป็นพระมเหสีของท้าวจันทรเสน และรอยเท้าที่เล็กเป็นพระชายาของพระราชบุตร แต่เมื่อพบนางทั้งก็ปรากฏว่า รอยเท้าที่ใหญ่คือพระราชธิดา และรอยเท้าที่เล็ก นั้นคือ พระราชมารดา ดังนั้นพระราชธิดาจึงเป็นพระมเหสีของท้าวจันทรเสน และพระมารดาได้เป็นพระชายาของพระราชบุตร

เนื้อเรื่อง
          เวตาลกล่าวว่า ครั้งนี้ข้าพเจ้าเขม่นตาซ้ายหัวใจเต้นแรง แลตาก็มืดมัวเหมือนลางไม่ดีเสียแล้ว  แต่ข้าพเจ้าจะเล่าเรื่องจริงถวาย แลเหตุที่ข้าพเจ้าเบื่อหน่ายที่ต้องถูกแบกหามไปหามมา
           ในโบราณกาล มีเมืองที่ใหญ่เมืองหนึ่งชื่อ กรุงธรรมปุระ พระราชาทรงพระนามว่า ท้าวมหาพล มีพระมเหสีที่ทรงสิริโฉมงดงามแม้มีพระราชธิดาที่ทรงเจริญวัยแล้ว ต่อมาได้เกิดศึกสงครามทหารของท้าวเอาใจออกห่าง ทำให้ทรงพ่ายแพ้ พระองค์จึงทรงพาพระมเหสีและพระราชธิดาหลบหนีออกจากเมืองเพื่อไปเมืองเดิมของพระมเหสี ในระหว่างทางท้าวมหาพลได้ถูกโจรรุมทำร้ายเพื่อชิงทรัพย์และสิ่งของมีค่า จนพระองค์สิ้นพระชนม์ จนพระราชธิดาและพระมเหสีเสด็จหนีเข้าไปในป่าลึก
            ในเวลานั้นมีพระราชาทรงพระนามว่า ท้าวจันทรเสน กับพระราชบุตร ได้เสด็จมาประพาสป่าและพบรอยเท้าของสตรีซึ่งเมื่อพบสตรีทั้งสองจะให้รอยเท้าที่ใหญ่เป็นพระมเหสีของท้าวจันทรเสน และรอยเท้าที่เล็กเป็นพระชายาของพระราชบุตร แต่เมื่อพบนางทั้งก็ปรากฏว่า รอยเท้าที่ใหญ่คือพระราชธิดา และรอยเท้าที่เล็ก นั้นคือ พระราชมารดา ดังนั้นพระราชธิดาจึงเป็นพระมเหสีของท้าวจันทรเสน และพระมารดาได้เป็นพระชายาของพระราชบุตร
      ครั้นกษัตริย์ทั้งสององค์ทรงกระทำสัญญาแบ่งนางกันดังนี้แล้ว ก็ชักม้าตามรอยเท้านางเข้าไปในป่า
       พระราชากับพระราชบุตรก็เชิญนางทั้งสองขึ้นบนหลังม้าองค์ละองค์ นางพระบาทเขื่องคือพระราชธิดาขึ้นทรงม้ากับท้าวจันทรเสน นางพระบาทเล็กคือพระมเหสีขึ้นทรงช้างกับพระราชบุตร สี่องค์ก็เสด็จเข้ากรุง
          กล่าวสั้นๆ ท้าวจันทรเสน แลพระราชบุตรก็ทำวิวาหะทั้งสองพระองค์ แต่กลับคู่กันไป คือพระราชบิดาวิวาหะกับพระราชบุตรี  พระราชบุตรวิวาหะกับพระมเหสี แลเพราะเหตุที่คาดขนาดเท้าผิด ลูกกลับเป็นเมียพ่อ แม่กลับเป็นเมียลูก ลูกกลับเป็นแม่เลี้ยงของผัวตัวเอง แลแม่กลับเป็นลูกสะใภ้ของผัวแห่งลูกตน
         แลต่อมาบุตรแลธิดาก็เกิดจากนางทั้งสอง แลบุตรแลธิดาของนางทั้งสองก็มีบุตรแลธิดาต่อๆกันไป
         เวตาลเล่ามาเพียงครู่หนึ่ง แล้วกล่าวต่อไปว่า
      “บัดนี้ข้าพเจ้าจะตั้งปัญหาทูลถามพระองค์ว่า ลูกท้าวจันทรเสนที่เกิดจากธิดาท้าวมหาพลลูกพระมเหสีท้าวมหาพลที่เกิดกับพระราชบุตรท้าวจันทรเสนนั้น จะนับญาติกันอย่างไร
       พระวิกรมาทิตย์ได้ทรงฟังปัญหาก็ทรงตรึกตรองเอาเรื่องของพ่อกับลูก  แม่กับลูก แลกับน้องมาปนกันยุ่ง แลมิหนำซ้ำมาเรื่องแม่เลี้ยงกับแม่ตัว  แลลูกสะใภ้กับลูกตัวอีกเล่า
           พระราชาทรงตีปัญหายังไม่ทันแตก พอนึกขึ้นได้ว่าการพาเวตาลไปส่งคืนโยคีนั้นจะสำเร็จก็ด้วยไม่ทรงตอบปัญหา จึงเป็นอันทรงนิ่งเพราะจำเป็นแลเพราะสะดวก  ก็รีบสาวก้าวดำเนินเร็วขึ้น
           ครั้นเวตาลทูลเย้าให้ตอบปัญหาด้วยวิธีกล่าวว่าโง่ จะรับสั่งอะไรไม่ได้ ก็ทรงกระแอม
           เวตาลทูลถามว่า
          “รับสั่งตอบปัญหาแล้วไม่ใช่หรือ
          พระราชาไม่ทรงตอบว่ากระไร เวตาลก็นิ่งครู่หนึ่งแล้วทูลถามว่า
           “บางมีพระองค์จะโปรดฟังเรื่องสั้นๆ อีกสักเรื่องหนึ่งกระมัง
          ครั้งนี้แม้แต่กระแอม พระวิกรมาทิตย์ก็ไม่ทรงกระแอม เวตาลจึ่งกล่าวอีกครั้งหนึ่งว่า
         “เมื่อพระองค์ทรงจนปัญญาถึงเพียงนี้ บางทีพระราชบุตรซึ่งทรงปัญญาเฉลียวฉลาดจะทรงแก้ปัญหาได้บ้างกระมัง
           แต่พระธรรมวัชพระราชบุตรนิ่งสนิททีเดียว

คำศัพท์        

กระเหม่น
เขม่น คือ อาการที่กล้ามเนื้อกระตุกเบาๆ ขึ้นเอง ตามลัทธิโบราณถือว่าเป็นนิมิตบอกเหตุร้ายหรือดี
โกรศ
มาตราวัดความยาว เท่ากับ 500 คันธนู
เขื่อง
ค่อนข้างใหญ่ ค่อนข้างโต
คุมกัน
รวมกลุ่มกัน
เครื่องประหลาด
สิ่งที่ทำให้คนประหลาดใจในความว่า “ความสาวของพระนางเป็นเครื่องประหลาดของคนทั้งหลาย
จำเพาะ
เพียง เฉพาะ
ซื้อน้ำใจ
ผูกใจ ในความว่า “ใช้ทองคำซื้อน้ำใจนายทหารหมายถึง ติดสินบนด้วยทองคำเพื่อให้ทหารเข้ากับฝ่ายของตน
ดอกไม้ในสวน
เปรียบกับหญิงสาวที่อยู่ในรั้วในวัง
ดอกไม้ป่า
เปรียบกับหญิงสาวในชนบทหรือในหัวเมืองทั่วไป แต่มีความงามเป็นพิเศษ
ภิลล์
ชื่อชาวป่า อาศัยในแถบเขาวินธัยในอินเดีย
มูลเทวะบัณฑิต
เป็นชื่อตัวละครในนิทานสันสกฤต เล่าว่าเป็นผู้รู้ศิลปวิทยาและมักกล่าวถ้อยคำเป็นคติสอนใจ
แม่เรือน
ในที่นี้หมายถึงภริยาที่ดีมีหน้าที่ดูแลสามีและความเรียบร้อยภายในบ้าน เรียกว่า แม่ศรีเรือน
รี้พล
ทหาร
สัญญา
สัญญาณ ในข้อความที่ว่า “ก็ทำสัญญาเรียกพลโจรออกมาทั้งหมด
สิ้นบุญ
ตาย
สู่
แบ่งให้ ในข้อความ “เพื่อจะหาอาหารเสวยและสู่พระนางทั้งสองพระองค์
หนังสือ
วรรณคดี ในความที่ว่า “ถ้าจะพูดตามเรื่องหนังสือ
หรอร่อย
คือ ร่อยหรอ หมายความว่า ค่อยๆ หมดไปทีละน้อย
เหล็ก
อาวุธที่ทำด้วยเหล็ก ในข้อความที่ว่า “ใช้เหล็กเป็นอาวุธที่ซื้อน้ำใจไม่ได้

บทวิเคราะห์
ความดีเด่นด้านกลวิธีการแต่ง
1 การใช้สำนวนโวหาร
     นิทานเวตาล ฉบับพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์  มีการใช้สำนวนโวหารเปรียบเทียบที่ไพเราะและทำให้เห็นภาพแจ่มชัดขึ้น
2 การใช้กวีโวหาร
      พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงแปลนิทานเวตาลด้วยภาษาที่กระชับ อ่านง่าย มีบางตอนที่ทรงใช้สำนวนภาษาบาลี ซึ่งไม่คุ้นหูผู้อ่านในยุคนี้ เพราะไม่นิยมใช้แล้วในปัจจุบัน

คุณค่าด้านปัญญาและความคิด
1 ความอดทนอดกลั้น
           ความอดทนเป็นคำสอนในทุกศาสนา ดังนั้นเมื่อไม่ตอบปัญหาในเรื่องที่ 10 เวตาลจึงกล่าวชมว่า ทรงตั้งพระราชหฤทัยดีนัก พระปัญญาราวกับเทวดาและมนุษย์อื่นที่มีปัญญา จะหามนุษย์เสมอมิได้
2 ความเพียรพยายาม
            เวตาลมักยั่วยุให้พระวิกรมาทิตย์แสดงความคิดเห็นออกมา ทำให้พระองค์ต้องกลับไปปีนต้นอโศกเพื่อจับเวตาลใส่ย่ามกลายครั้ง
3 การใช้สติปัญญา
            การแก้ปัญหาต่างๆ จำเป็นต้องใช้สติและปัญญาควบคู่กันไป จากนิทานเวตาลเรื่องนี้ชี้ให้เห็นว่าการใช้ปัญญาของพระวิกรมาทิตย์อย่างเดียวนั้นไม่สามารถแก้ปัญหาและเอาชนะเวตาลได้ แต่พระองค์ต้องใช้สติประกอบกับปัญญาควบคู่กันไปจึงเอาชนะเวตาลได้
4 ความมีสติ
           ความเป็นผู้มีทิฐิมานะ ไม่ยอมในสิ่งที่ไม่พอใจ บางครั้งอาจส่งผลเสียต่อผู้นั้นเอง ดังนั้น การพยายามยับยั้งชั่งใจ  ไม่พูดมากปากไวจนเกินไป จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมากเพราะเมื่อใด เราคิดก่อนพูด ไม่ใช่พูดแล้วคิด เมื่อนั้นเราก็มีสติ สติเป็นสิ่งที่สำคัญเพราะเป็นพื้นฐานของสมาธิและปัญญา ถ้าไม่มีสติ สิ่งต่างๆที่เราทำไปหรือตัดสินใจไปโดยไร้สติอาจส่งผลร้ายเกินกว่าจะประเมินได้
5 การเอาชนะข้าศึกศัตรู
            ในการทำสงครามนั้นผู้ที่มีความชำนาญ มีเล่ห์เหลี่ยมในกลศึกมากกว่าย่อมได้ชัยชนะ
6 ข้อคิดเตือนใจ
              เครื่องประดับเป็นสิ่งที่ทำให้ได้รับอันตรายจากโจรผู้ร้าย แม้จะเป็นชายที่มีฝีมือเช่นท้าวมหาพลก็ตาม เมื่อตกอยู่ในหมู่โจรเพียงคนเดียว ย่อมเสียทีได้

คุณค่าด้านความรู้
          การอ่านนิทานเวตาลทำให้ได้รู้ถึงวัฒธรรมและค่านิยมของชาวอินเดียในยุคโบราณ เช่น ค่านิยมที่ชายจะมีภรรยาได้หลายคนโดยเฉพาะชายสูงศักดิ์ เพราะถือส่าเรือนที่อบอุ่นจะต้องมีแม่เรือน


บทที่4 เรื่อง นิราศนริทร์คำโคลง

หน่วยที่ 4

นิราศนรินทร์คำโคลง

ความเป็นมา
      นิราศ เป็นงานประพันธ์ประเภทหนึ่งของไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เท่าที่ปรากฏหลักฐานในปัจจุบัน นิราศเรื่องแรกของไทยนั้นคือ โคลงนิราศหริภุญชัย ซึ่งแต่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา
๑.๑ ลักษณะของนิราศ
      พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช ๒๕๔๒ อธิบายว่า นิราศหมายถึง .เรื่องราวที่พรรณนาถึงการจากกันหรือจากที่อยู่ไปในที่ต่างๆ
 ๑.๒ เนื้อหาของนิราศ
      เนื้อหานิราศส่วนใหญ่มักเป็นการคร่ำครวญของกวี (ชาย) ต่อสตรีอันเป็นที่รักเนื่องจากต้องพลัดพรากจากนางมาไกลไม่ว่าจะเป็นด้วยเหตุใดก็ตาม
      อย่างไรก็ตาม อาจกล่าวได้ว่าวรรคดีนิราศมักมีความเศร้าเพราะร้างรักเป็นแก่นเรื่องของรายละเอียดอื่นๆ ที่ปรากฏในเนื้อเรื่องเป็นเพียงส่วนประกอบเท่านั้น
 ๑.๓ นางในนิราศ
      สำหรับนางในนิราศที่กวีพรรณนานั้น อาจมีตัวตนจริงหรือไม่ก็ได้แต่กวีถือว่า นางอันเป็นที่รักเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งที่จะเอื้อให้กวีแต่งนิราศได้ไพเราะในบางกรณกวีเมื่อเดินทางไกลและแม้ว่าจะไม่ได้จากนางอันเป็นที่รักจริง เพราะมีนางนั้นติดตามาด้วย แต่กวีก็ยังต้องครวญถึงนางตามแบบแผนของนิราศ
 ๑.๔ คำประพันธ์ในนิราศ
         วรรณคดีประเภทนิราศอาจแต่งด้วยคำประพันธ์หลายๆประเภท เช่น โคลง กาพย์ กลอน กาพย์ห่อโคลง แต่ที่นิยมมากสุดในสมัยโบราณได้แก่ โคลง ส่วนมากมักขึ้นต้นด้วยร่ายหนึ่งบทและร่ายหนึ่งบทนี้จะมีใจความสดุดีบ้านเมืองและยอพระเกียรติพระมาหากษัตริย์

นิราศนรินทน์คำโคลง
     นิราศนรินทน์คำโคลงมีลักษณะเป็นนิราศแท้ คือมีเนื้อหาสำคัญอยู่ที่การคร่ำครวญถึงนางอันเป็นที่รักที่กวีจากมา ส่วนรายละเอียดอื่นๆ เป็นเพียงส่วนประกอบเท่านั้นเป็นที่ยอมรับทั่วไปว่านิราศนรินทน์คำโคลงเป็นนิราศที่มีความไพเราะที่สุดเรื่องหนึ่งของไทย
                                                                         อยุธยายศล่มแล้ว               ลอยสวรรค์ ลงฤา
                                                         สิงหาสน์ปรางค์รัตน์บรร-         เจิดหล้า
                                                         บุญเพรงพระหากสรรค์             ศาสน์รุ่ง เรืองแฮ
                                                         บุญเพรงพระหากสรรค์             ฝึกฟื้นใจเมือง
                                                         เรืองเรืองไตรรัตน์พ้น               พันแสง
                                                         รินรสพระธรรมแสดง                ค่ำเช้า
                                                         เจดีย์ระดะแซง                       เสียดยอด
                                                         ยลยิ่งแสงแก้วเก้า                  แก่นหล้าหลากสวรรค์
                                                         เอียงอกเทออกอ้าง                อวดองค์ อรเอย
                                                         เมรุชุบสมุทรดินลง                 เลยแต้ม
                                                         อากาศจักจารผจง                  จารึก พอฤา
                                                         โฉมแม่หยาดฟ้าแย้ม              อยู่ร้อนฤาเห็น
๒.ประวัติผู้แต่ง
             นิราศนรินทน์คำโคลง เป็นนิราศที่มีชื่อเสียงที่สุดในกรุงรัตนโกสินทร์ ด้ยมีความไพเราะเป็นเยี่ยม แต่เป็นที่หน้าเสียดายว่าความรู้เกี่ยวกับประวัติผู้แต่งนั้นไม่สู้ชัดเจนนักนอกจากปรากฏอยู่ในโคลงท้ายเรื่องว่า
โคลงนิราศเรื่องนี้                  นรินทร์อิน
รองบาทบวรวังถวิน                     ว่าไว้
    ๓.ลักษณะคำประพันธ์
            นิราศนรินทน์คำโคลง แต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทร่ายสุภาพ จำนวน ๑ บท และโคลงสี่สุภาพจำนวน ๑๔๓ บท
           ๓.๑ ร่ายสุภาพ
                   ร่ายสุภาพแต่งเป็นวรรค วรรคละประมาณ ๕ คำ หรือมากกว่านั้น และจะแต่งให้ยาวกี่วรรคก็ได้ แต่สามวรรคสุดท้ายก่อนที่จะจบบทจะต้องมีฉันทลักษณ์เป็นโคลงสองสุภาพเสมอ
                   ส่วนการสัมผัสนั้นคำสุดท้ายของวรรคหน้าจะสัมผัสกับคำที่ ๑,๒ หรือ ๓ ของวรรคต่อไปแต่ถ้าคำสุดท้ายของวรรคหน้าส่งสัมผัสเป็นคำเอกหรือคำโท คำที่รับสัมผัสในวรรคต่อไปจะต้องเป็นคำเอกหรือคำโทเช่นเดียวกัน ดังแผนภาพต่อไปนี้
๔.เรื่องย่อ
    นิราศนรินทร์คำโคลงเริ่มเรื่องด้วยร่ายสุภาพยอพระเกียรติพระมหากษัตริย์ แล้วกล่าวถึงความเจริญของบ้านเมือง จากนั้นจึงรำพันถึงการจากนางอันเป็นที่รักและพรรณนาสถานที่ที่ผ่านไป โดยนายนรินทรธิเบศร์ (อิน)  ได้ออกเดินทางเริ่มต้นจากคลองขุดผ่านวัดแจ้ง  คลองบางกอก (ใหญ่)  วัดหงส์  วัดสังข์กระจาย  บางยี่เรือ (คลอง) ด่านนางนอง บางขุนเทียน บางบอน บางหัวกระบือ โคกขาม คลองโคกเต่า มหาชัย ท่าจีน บ้านบ่อ นาขวาง คลองสามสิบสองคด คลองย่านซื่อ แม่กลองปากน้ำ (ออกทะเล) บ้านแหลม คุ้งคดอ้อย เพชรบุรี ชะอำ ห้วยขมิ้น ท่าข้าม เมืองปราณ (บุรี) สามร้อยยอด ทุ่งโคแดง (ทุ่งวัดแดง) อ่าวนางรม (อ่าวประจวบ) บางสะพาน ขามสาวบ่าว อู่แห้ง เขาหมอนเจ้า โพสลับ ลับยักษ์ เมืองแม่น้ำ อู่สะเภา หนองบัว แก่งตุ่ม แก่งคุลาตีอก แก่งแก้ว (แก่งแก้วสงสาร) แก่งนางครวญ ปากน้ำ (ร่วม) เขาเพชร จนถึงตระนาว (ตะนาวศรี) เป็นที่หมายปลายทาง
๕.เนื้อเรื่อง
นิราศนรินทน์
                       ศรีสิทธิ์พิศาลภพ เลอหล้าลบล่มสวรรค์  จรรโลงโลกกว่ากว้าง  แผนแผ่นผ้างเมืองเมรุ  ศรีอยุธเยนทร์แย้มฟ้า  แจกแสงจ้าเจิดจันทร์  เพียงรพิพรรณผ่องด้าว  ขุนหาญท้าวแหนบาท  สระทุกข์ราษฎร์รอนเสี้ยน  ส่วนเศิกเหลี้ยนล่งหล้า  ราญราบหน้าเกริน  เข็ญข่าวยินยอบตัว  ควบค้อมหัวไหว้ละล้าว  ทุกไทน้าวมาลย์น้อม  ขอออกอ้อมมาอ่อน  ผ่อนแผ่นดินให้ผาย  ขยายแผ่นฟ้าให้แผ้ว  เลี้ยงทแกล้วให้กล้า  พระยศไท้เทิดฟ้า  เฟื่องฟุ้งทศธรรม  ท่านแฮ
                              อยุธยายศล่มแล้ว                          ลอยสวรรค์ ลงฤา
                    สิงหาสน์ปรางค์รัตน์บรร-                      เจิดหล้า
                    บุญเพรงพระหากสรรค์                          ศาสน์รุ่ง เรืองแฮ
                    บุญเพรงพระหากสรรค์                          ฝึกฟื้นใจเมือง
                                                                   ฯลฯ

                                เอียงอกเทออกอ้าง                      อวดองค์ อรเอย
                    เมรุชุบสมุทรดินลง                                 เลขแต้ม
                    อากาศจักจารผจง                                    จารึก พอฤา
                    โฉมแม่หยาดฟ้าแย้ม                               อยู่ร้อนฤาเห็น
                                                                   ฯลฯ
                                 ร่ำรักร่ำเรื่องร้าง                         แรมนวล  นาฏฤา
                    เสนาะสนั่นดินครวญ                             ครุ่นฟ้า
                    สารสั่งพี่กำสรวล                                   แสนเสน่ห์  นุชเอย
                    ควรแม่ไว้ต่างหน้า                                  พี่พู้นภายหลัง
                                                                    ฯลฯ
๑.      คำศัพท์และคำอธิบาย

พิศาลภพ
โลกอันกว้างขวาง
เลอหล้า
เหนือโลก บนโลก สูงเด่นในโลก
แผ่นผ้าง
แผ่นพื้น
รพิพรรณ
แสงอาทิตย์
ขุญหาญ
ขุนพล แม่ทัพ
ห้าว
กล้า
ไตรรัตน์
แก้วสามดวง
แก่นหล้า
เป็นแก่นโลก หลักโลก
เยียวว่า
ถ้าว่า แม้ว่า
เลื่อน
พาไป
ชาย
พัด
จักรี
ผู้มีจักร
เกลือก
หาก บางที
คล้อง
รับ
โท
สอง
ขำ
งาม
ท่ง
ทุ่ง
หิวมเวศ
หิมพานต์
รุม
ร้อน
เลข
เขียนหนังสือ
กำสรวล
โศกเศร้า

บทวิเคราะห์
๗.๑ ด้านกลวิธี การแต่ง
 ๑) การใช้คำ กวีใช้คพที่งดงามทั้งรูป ความหมายและเสียงที่ไพเราะ โดยเฉพาะร่ายสดุดีที่มีลักษณะเด่นสะดุดความสนใจ
๑.๑) เลือกสรรคำที่เหมาะกับเนื้อเรื่อง
๑.๒) การเลือกสรรคำที่มีเสียงเสนาะ
- สัมผัส
- การเล่มคำ
๒) ภาพพจน์
   ๒.๑) การเปรียบเทียบเกินจริง คือการกล่าวเกินจริง เพื่อให้ได้คุณค่าทางด้านอารมณ์เป็นสำคัญ
  ๒.๒) การใช้บุคคลวัต กวีใช้คำสมมุติต่างๆ ที่ไม่ใช่มนุษย์ให้มีกิริยาอาการความรู้สึกเหมือนมนุษย์

๗.๒ ด้านสังคม
๑.     นิราศนรินทร์คำโคลงมีเนื้อหาสาระที่จรรโลงวัฒนธรรม
๒.   นิราศนรินทร์คำโคลงมีคุณค่าที่สะท้อนให้เห็นสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในสมัยรัชการที่ ๒
        นิราศนรินทร์คำโคลง เป็นตัวอย่างของโคลงนิราศชั้นเยี่ยมที่เปี่ยมด้วยความไพเราะและมีคุณค่าทางวรรณศิลป์ เหมาะสำหรับเยาวชนจะนำไปเป็นแบบอย่างในการประพันธุ์โคลงที่มีเนื้อหาพรรณอารมณ์ ความรัก และธรรมชาติ รวมทั้งรูปแบบทางฉันทลักษณ์ของร้อยกรองไทยได้เป็นอย่างดี